วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเคมี

     ความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเคมี

      

       1. อุตสาหกรรมเคมี 


          คำว่า อุตสาหกรรมทางเคมี ครอบคลุมไปถึงกิจกรรมอุตสาหกรรมมากมายหลายอย่าง อุตสาหกรรมที่ทำเครื่องเคมีทั้งหลายจะผลิตผลสำเร็จรูป เช่น พลาสติก สี ยารักษาโรค ผงซักฟอก วัตถุระเบิด ไยเทียม สีย้อมผ้า และยาฆ่าแมลง เป็นต้น
สารเคมีที่เป็นพื้นฐานและใช้ประโยชน์ได้มากสำคัญที่สุด คือ กรดกำมะถัน ซึ่งใช้ในกระบวนการทางเคมีมากมายนับตั้งแต่การทำปุ๋ยไปจนทำความสะอาดเหล็ก โซดาไฟที่ใช้ในการทำสบู่และทำสิ่งอื่นนั้น ก็ผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกับแอมโมเนียที่ใช้ในการทำปุ๋ย เคมีภัณฑ์เหล่านี้และอื่น ๆ มักเรียกว่าสารเคมีหนัก เพราะเหตุว่าผลิตออกมาเป็นปริมาณมาก ๆ ยารักษาโรคแทบทุกชนิด มีการผลิตเป็นจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับสารเคมีหนักพวกนี้เรียกว่า สารเคมีละเอียด
การอุตสาหกรรมเคมีใช้วัตถุดิบหลายอย่าง อาทิ หิน แร่ และถ่านหิน ซึ่งขุดมาจากใต้พื้นดิน และยังใช้ไม้ซุง และวัตถุดิบจากพืชอีกหลายชนิด ที่นับว่าสำคัญที่สุดก็คือ การอุตสาหกรรมเคมีต้องใช้น้ำมันดิบซึ่งเป็นหัวใจสองประการ คือ เป็นทั้งวัตถุดิบและเป็นเชื้อเพลิง ที่น่าวิตกก็คือ น้ำมันดิบอาจจะมีใช้กันต่อไปอีกไม่นาน
การอุตสาหกรรมเคมีใช้ขบวนการทางเคมีต่าง ๆ หลายอย่างเพื่อจะเปลี่ยนวัตถุดิบมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ วิธีการหนึ่งที่เรียกว่าการทำให้แตกตัว คือ การทำให้วัตถุที่มีองค์ประกอบยุ่งยากซับซ้อนกลายเป็นสิ่งที่มีองค์ประกอบง่ายขึ้น อีกวิธีหนึ่งตรงกันข้าม คือ ทำให้วัตถุที่มีองค์ประกอบง่าย ๆ กลายเป็นวัตถุที่มีองค์ประกอบซับซ้อน(polymerization)
การอุตสาหกรรมเคมีใช้ขบวนการทางฟิสิกส์ด้วย เช่น การประสม การกรอง การทำให้แห้ง ขบวนการเหล่านี้ช่วยทำให้วัตถุดิบมีประโยชน์ยิ่งขึ้น สำหรับทำผลิตภัณฑ์ทางเคมีและการค้า
งานค้นคว้าวิจัยเป็นหัวใจของการอุตสาหกรรมเคมี นักวิทยาศาสตร์จะเสาะหาขบวนการใหม่ ๆ หรือที่ดียิ่งขึ้นไป เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ หรือดียิ่งขึ้น ถ้ากรรมวิธีไหนดูท่าว่าจะดี วิศวกรเคมีก็จะทำการทดสอบดู เขาจะออกแบบอุปกรณ์และสร้างโรงงานเล็ก ๆ ขึ้นทดลองทำดูก่อน เมื่อได้ผลว่าดี ก็จะทำกันต่อไปและสร้างโรงงานขนาดใหญ่ขึ้นเต็มรูป

2.อุตสาหกรรมเคมีในไทย         
         ปัจจุบันระบบเศรษฐกิจไทยได้ก้าวมาถึงจุดแห่งความจำเป็นที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตจากเดิมที่เน้นการใช้แรงงานมาก มาสู่การผลิตที่อาศัยองค์ความรู้ และสติปัญญาเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เนื่องจากแรงกดดันด้านตลาดแรงงานโลกที่มีอุปทานมากมาย จนทำให้การแข่งขันของสินค้าที่เน้นการใช้แรงงานเข้มข้นเป็นไปอย่างรุนแรง   และอุตสาหกรรมเคมีของประเทศไทยมีผู้ประกอบการเป็นจำนวนมากและมีความหลากหลายของประเภทผลิตภัณฑ์ และมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศเนื่องจากอุตสาหกรรมเหล่านี้เป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานสำหรับอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆและใช้ในชีวิตประจำวันซึ่งมีบทบาทสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าและเพื่อการส่งออก   ดังนั้นอุตสาหกรรมเคมีจึงเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตค่อนข้างสูง เนื่องจากวัตถุดิบเคมีมีโครงสร้างทางเคมีที่ซับซ้อน แต่การพัฒนาด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงนั้นไทยยังขาดการลงทุนสนับสนุนในด้านนี้อีกทั้งวัตถุดิบที่ผลิตได้ในประเทศยังไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐาน ทำให้อุตสาหกรรมเคมีส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาการนำเข้าและมีต้นทุนสูงเมื่อเปรียบเทียบกับราคาผลิตภัณฑ์ในประเทศที่ถูกควบคุมในประเทศยังมีการผลิตปริมาณน้อยและไม่สามารถพัฒนามาใช้ในเชิงพาณิชย์ได้
1.1       ความหมายของอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรม หมายถึง การประกอบกิจการทางด้านการผลิตสินค้าหรือโภคภัณฑ์  การบริการหรือกระบวนการเปลี่ยนรูปหรือแปรรูปวัตถุดิบโดยอาศัยเงินลงทุน  วัตถุดิบ  เครื่องจักร และแรงงานมาผสานกัน  เพื่อให้เกิดคุณค่าและประโยชน์รวมทั้งตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างสูงสุด  การแปรรูปของผลิตภัณฑ์อาจใช้กระบวนการในขั้นที่ง่ายไปจนถึงขั้นที่สลับซับซ้อน
1.2 ความเป็นมาของอุตสาหกรรม
ในยุคเริ่มต้นของการส่งเสริมอุตสาหกรรมในประเทศไทยจะเห็นได้ว่ามีโรงงานต่างเข้ามาตั้งฐานผลิตในเมืองไทยจำนวนมาก ทำให้เกิดนิคมอุตสาหกรรมขึ้นหลายแห่งทั้งนี้ เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ชัดเจน ค่าแรงงานถูก ลดรายจ่ายเนื่องจากภาษีการนำเข้าของสินค้า และวัตถุดิบบางตัว แต่ ณ ปัจจุบันนี้ค่าแรงบ้านเราสูงขึ้น และสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน เช่น จีน เวียดนาม อินโดนีเซีย เป็นต้น ในขณะเดียวกันคุณภาพแรงงานไม่ได้มาตรฐาน ขาดความรู้และทักษะจึงทำให้หลายบริษัทได้ย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีค่าแรงงานถูกกว่าและอีกหลายบริษัทที่พยายามปรับตัวเอง โดยมีการนำเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ (Automation Technology) เข้ามาใช้งานเพื่อให้สินค้าสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ทั้งในเรื่องราคาและคุณภาพโดยเฉพาะในเรื่องคุณภาพ ปัจจุบันโรงงานที่ผลิตสินค้าส่งออกหรือส่งให้กับลูกค้าที่เป็นบริษัทของต่างประเทศมักจะประสบปัญหาในเรื่องคุณภาพ มีทั้ง ผลิตสินค้าไม่ได้มาตรฐานตามที่ลูกค้ากำหนด หรือ ผลิตสินค้าไม่ทันตามกำหนดเวลา อาจเนื่องจากมีการเปลี่ยนรุ่นผลิตภัณฑ์อยู่บ่อยๆ ต้องใช้เวลาในการติดตั้งระบบ  ปัจจุบันจึงมีการนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาใช้ ในงานอุตสาหกรรม จึงทำให้เกิดเป็นเทคโนโลยีอุตสาหกรรมขึ้นมาในแวดวงของอุตสาหกรรม
1.3 ความสำคัญของอุตสาหกรรม
                1. เป็นแหล่งว่าจ้างแรงงาน
                2. ทำให้เกิดการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเต็มที่และช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจของ   ประเทศ
                3. ช่วยในการผลิตสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตหรือปัจจัย4 และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
                4. ช่วยลดปัญหาดุลการค้าและดุลการชำระเงิน  
                5. ช่วยในการผลิตอาวุธ ซึ่งมีความสำคัญต่อความมั่นคงของประเทศ

การแยกประเภทอุตสาหกรรม
1.4.1การแยกประเภทอุสาหกรรม แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
            1. อุตสาหกรรมสกัดจากธรรมชาติ หมายถึง การสกัดหรือแยกหรือนำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ให้เป็นประโยชน์ เช่น การทำเหมืองแร่ การประมง การป่าไม้ เป็นต้น
             2. อุตสาหกรรมการผลิต หมายถึง การนำเอาวัตถุดิบจากอุตสาหกรรมการสกัดจากธรรมชาติมาผลิต                       เป็นวัตถุสำเร็จรูปหรือผลิตภัณฑ์อื่น เช่น การผลิตกระดาษ การผลิตผ้าเป็นต้น

            3.   อุตสาหกรรมการขนส่ง หมายถึง การประกอบการเพื่อนำวัตถุสำเร็จรูปไปยังผู้บริโภค เช่น การขนส่งทางเรือ ทางรถไฟ ทางรถบรรทุก และทางอากาศ เป็นต้น

            4.   อุตสาหกรรมการบริการ หมายถึง การประกอบกิจการด้านการใช้บริการต่าง ๆ

  1.4.2   การแยกประเภทอุตสาหกรรมตามขนาดของกิจการ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
                  1. อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ หมายถึง อุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงาน เครื่องจักร อุปกรณ์และเงินทุนสูงมากเช่นอุตสาหกรรมถลุงเหล็กและผลิตเหล็กกล้า 

              2. อุตสาหกรรมขนาดย่อม หมายถึง อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงาน เครื่องจักรและอุปกรณ์ ตลอดจนเงินทุนน้อยกว่าอุตสาหกรรมขนาดใหญ่        ส่วนมากเป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตเครื่องอุปโภคทั่วๆไป         เช่น อุตสาหกรรมฟอกหนังอุตสาหกรรมน้ำตาลเป็นต้น

              3.  อุตสาหกรรมในครัวเรือน หมายถึง อุตสาหกรรมที่ทำกันภายในครอบครัว ในบ้านที่อยู่อาศัยเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นส่วนใหญ่ทำผลิตภัณฑ์ที่ใช้ความชำนาญทางฝีมือ เช่นการแกะสลักเป็นต้น

 1.4.3 การแยกประเภทอุตสาหกรรมตามลักษณะการใช้ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

              1.  อุตสาหกรรมสินค้าทุน หมายถึง อุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้า ซึ่งส่วนใหญ่นำไปใช้เป็นวัตถุดิบของโรงงานอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น การทำเครื่องจักร การถลุงโลหะ อุตสาหกรรมฟอกหนัง

              2.  อุตสาหกรรมสินค้าบริโภค หมายถึง อุตสาหกรรมที่ทำการผลิตให้ได้ผลิตผลสำหรับประชาชนนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น อุตสาหกรรมผลิตอาหารสำเร็จรูป

1.4.4 การแยกประเภทอุตสาหกรรมตามสภาพและสมบัติผลิตภัณฑ์ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท 

             1.  ประเภทถาวร  หมายถึง อุตสาหกรรมที่ทำการผลิต ผลิตภัณฑ์ที่มีความคงทนถาวร หรือมีอายุการใช้งานนาน     เช่น การทำเครื่องจักร         เป็นต้น

             2. ประเภทกึ่งถาวร หมายถึง อุตสาหกรรมที่ทำการผลิต ผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการใช้งานในระยะเวลาอันสั้น เช่น เสื้อผ้า หลอดไฟ ดินสอ                

             3. ประเภทไม่ถาวรหรือประเภทสิ้นเปลือง หมายถึง อุตสาหกรรมที่ทำการผลิต ผลิตภัณฑ์ที่เมื่อใช้งานเพียงครั้งเดียวก็แปรสภาพไปหรือไม่อาจนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก   เช่น  อุตสาหกรรมเคมีอุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูป              
 1.5 อนาคตอุตสาหกรรมไทย
                จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้สรุปภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี พ..2550 มีอัตราการขยายตัวที่ร้อยละ 4.8 ลดลงจากปี พ..2549 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.1 การลดลงดังกล่าว เป็นผลมาจากการชะลอตัวลงด้านการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนเป็นสำคัญ ซึ่งในครึ่งปีหลังเศรษฐกิจเริ่มมีการฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อย ส่งผลให้การเติบโตมีอัตราใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการส่งออกเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญแนวโน้มภาคอุตสาหกรรมในปี พ..2551 ยังต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตสินเชื่อซับไพรม์ ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐอย่างรุนแรง ทำให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่มีตลาดสหรัฐเป็นตลาดหลักได้รับผลกระทบตามไปด้วย ด้านปัญหาราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและต้นทุนการขนส่งในภาคอุตสาหกรรมขณะเดียวกันสถานการณ์ภายในประเทศ เช่น ปัญหาการเมืองและอัตราเงินเฟ้อ ยังส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและผู้บริโภคในอนาคต
โดยที่อนาคตอุตสาหกรรมไทยประกอบด้วย 2 ปัจจัยหลัก คือ
1. ตลาดในประเทศ หมายถึง ความต้องการของภาคครัวเรือนจากการบริโภค การใช้จ่ายของภาครัฐ และการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนของภาคเอกชน
2. ตลาดต่างประเทศ     หมายถึง การขยายตัวของการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของประเทศผู้ค้าเป็นสำคัญ
                จากปัจจัยทั้ง 2 ด้าน สรุปได้ว่าตลาดในประเทศมีข้อจำกัดของการขยายตัวที่เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปี พ..2551 โดยการใช้จ่ายภาครัฐ เป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดระดับของการขยายตัวว่าจะอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับปี พ..2551 หรือน้อยกว่านั้น แต่จะไม่หดตัว สำหรับตลาดต่างประเทศมีข้อจำกัดเช่นกันที่จะทำให้การส่งออกมีการขยายตัวในระดับที่สูงกว่าปี พ..2551 (การส่งออกช่วง 5 เดือนแรกขยายตัวร้อยละ 23.09 ในรูปเงินดอลลาร์) จากเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวจากปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ภาวะเงินเฟ้อ (ทำให้ต้องมีการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อลดแรงกดดันเงินเฟ้อ)
 1.6 อุตสาหกรรมเคมี
                อุตสาหกรรมเคมีเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้กระบวนการทางเคมีและฟิสิกส์ต่างๆ หลายอย่างเพื่อจะเปลี่ยนวัตถุดิบมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ กระบวนการเหล่านี้ช่วยทำให้วัตถุดิบมีประโยชน์ยิ่งขึ้น สำหรับทำผลิตภัณฑ์ทางเคมีและการค้า อุตสาหกรรมเคมีในที่นี้จะครอบคลุมไปถึงอุตสาหกรรมหลายประเภท อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ขั้นพื้นฐาน อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์อุปโภค เป็นต้น กระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมเคมีเริ่มตั้งแต่การนำสินแร่ หรือวัตถุดิบจากธรรมชาติอื่นๆมาผ่านกระบวนการเคมีและฟิสิกส์ เพื่อให้เกิดปฏิกิริยาได้สารเคมีหรือเคมีภัณฑ์ตามที่ต้องการ ในขณะเดียวกันตลาดวัตถุดิบเคมีของโลกมีการแข่งขันสูงส่งผลต่อคุณภาพสินค้าและวัตถุดิบที่มีอยู่ ในประเทศยังมีการผลิตปริมาณน้อยและไม่สามารถพัฒนามาใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ แม้ว่าไทยจะมีวัตถุดิบบางตัวที่มีศักยภาพ แต่ยังขาดการวิจัยและพัฒนาให้สามารถนำมาใช้ให้เกิดมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องได้ ดังนั้นงานค้นคว้าวิจัยจึงเป็นหัวใจของงานอุตสาหกรรมเคมี  เราจะเห็นว่าวิศวกรเคมีและนักวิทยาศาสตร์จะมีความรับผิดชอบสูงกับกระบวนการต่างๆในโรงงาน  แต่หน้าที่ความรับผิดชอบของวิศวกรเคมีและนักวิทยาศาสตร์จะแตกต่างกันอย่างชัดเจน
อุตสาหกรรมเคมีในประเทศไทยเป็นอุตสาหกรรมผสมและบรรจุ กล่าวคือ ส่วนใหญ่ต้องนำวัตถุดิบจากต่างประเทศแล้วนำมาผสมและบรรจุในประเทศเทคโนโลยีในการผสมไม่ซับซ้อนแต่ผู้ผลิตที่ได้มาตรฐานต้องพึ่งพาสูตรในการผสม ซึ่งเป็นความลับทางการค้าจากต่างประเทศ      ทำให้ส่วนใหญ่ต้องการร่วมทุนกับต่างประเทศ หรือผลิตโดยบริษัทข้ามชาติ เช่น อุตสาหกรรมสี เครื่องสำอาง ยาฆ่าแมลงและยาปราบศัตรูพืช คาร์บอนแบล็ค ผงชูรส  อุตสาหกรรมเคมีมีโครงสร้างตลาดแบบผู้ขายน้อยราย หรือแบบกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด การมีผู้ขายน้อยรายเกิดขึ้น เนื่องจากการผลิตมีการประหยัดต่อขนาด คือ เมื่อผลิตมากขึ้นก็จะทำให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำลง หรือ การผลิตเป็นแบบต่อเนื่อง (Continuous process) ทำให้การมีผู้ผลิตไม่กี่รายก็เพียงพอที่จะตอบสนองต่อตลาดในประเทศ       อุตสาหกรรมที่มีผู้ผลิตหลายรายในตลาด ได้แก่ อุตสาหกรรมสี เครื่องสำอาง อุตสาหกรรมเหล่านี้มีผู้ผลิตหลายรายในตลาด แต่ละรายผลิตสินค้าที่มีความแตกต่างกันเนื่องจากสูตร ส่วนผสม รูปแบบภาชนะที่บรรจุ ชื่อยี่ห้อ และการโฆษณา ทำให้มีอำนาจตลาด            (Market power) ในสินค้าของตนในระดับหนึ่ง   ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ผลิตรายใหญ่ไม่กี่รายสามารถครองส่วนแบ่งตลาดมากกว่าครึ่ง คือ อายุธุรกิจที่ยาวนานและมีชื่อเสียงมาก่อน อีกทั้งอุตสาหกรรมเคมีส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้า แม้บางอุตสาหกรรมจะสามารถพัฒนาไปสู่การส่งออกได้ในปัจจุบัน เช่น คาร์บอนแบล็ค ผงชูรส เครื่องสำอาง และเภสัชภัณฑ์   ปัจจัยสำคัญที่มีส่วนผลักดันให้อุตสาหกรรมดังกล่าวพัฒนาไปได้ คือ ไทยมีขนาดตลาดในประเทศที่ค่อนข้างใหญ่ รายได้ต่อหัวของประชากรเพิ่มขึ้นในอัตราสูงอย่างต่อเนื่อง และมีการเปิดตลาดการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้อุปสงค์ต่อสินค้าขยายตัวและผู้ผลิตมีการพัฒนาการผลิตเพื่อตอบสนองต่อตลาด                    อย่างไรก็ตามเนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบเป็นต้นทุนที่มีสัดส่วนสูงที่สุดในการผลิตสินค้ากลุ่มเคมี   การที่ไทยต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศภายใต้อัตราภาษีนำเข้าที่ค่อนข้างสูง จึงเป็นปัจจัยที่เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม และเป็นประเด็นที่ไทยยังเสียเปรียบประเทศอาเซียนอื่น ๆ
 1.7 ความสำคัญของอุตสาหกรรมเคมี
                อุตสาหกรรมเคมีและวิศวกรเคมีมีการปฏิบัติการทำงานภายในเขตที่ชุมชนอาศัยอยู่และจะไม่สามารถปฏิบัติงานในที่ที่ไม่มีชุมชนได้ เพราะชุมชนนั้นๆคือลูกค้าของผลิตภัณฑ์ที่ถูกสร้างขึ้นมา ถึงแม้ว่าลูกค้าสำคัญของบริษัทคือ บริษัทเคมีอื่นๆแต่จุดปลายทางสุดท้ายของผลิตภัณฑ์เคมีทั้งหมดคือชุมชนต่างๆทั้งหมด ดังนั้นบริษัทเคมีจึงผลิตเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่บุคคลทั่วไปต้องการ
ความต้องการจะเกิดขึ้นได้ในหนึ่งหรือทั้งสองทางคือ การใช้สอยของผู้ใช้เพิ่มมากขึ้นและผลิตภัณฑ์ของผู้แข่งขันไม่มี ซึ่งความต้องการที่ได้กล่าวมานี้ใช้ได้กับทุก ๆ องค์การ และจะได้ผลดีขึ้นถ้ามีการโฆษณาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยหรือโดยการที่บริษัทมีอิทธิพลเพิ่มขึ้นในสังคมหรือในโลก
                สิ่งที่เป็นแรงผลักดันให้แก่กิจการการผลิตต่าง ๆ คือ กำไรซึ่งกำไรจะถูกจำกัดในทางทฤษฎีด้วยการแข่งขันระหว่างบริษัทผู้ผลิต เราอาจพูดได้ว่าส่วนหนึ่งของราคาที่ถูกและกำไรที่ได้มานี้ได้มาจากความสูญเสียของสิ่งแวดล้อม  มลภาวะและการสูญเสียธรรมชาติไป ผลกระทบจากอุตสาหกรรมเคมีก็เป็นส่วนหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะเป็นส่วนน้อยก็ตาม การกำจัดหรือแก้ปัญหามลภาวะจึงมีอิทธิพลกับการทำงานของวิศวกร กล่าวคือ ทำให้การทำงานยุ่งยากขึ้น แต่การป้องกันเป็นสิ่งที่จำเป็นมากเพื่อความปลอดภัยและความสุขของทุกๆชีวิต

1.8 หน้าที่ของอุตสาหกรรมเคมี
                อุตสาหกรรมเคมีนั้นได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการหากำไรจากการลงทุนให้แก่เจ้าของ ซึ่งกำไรของอุตสาหกรรมเคมีจะแตกต่างกับอุตสาหกรรมอื่นๆตรงที่รายได้ที่ได้มาจากอุตสาหกรรมเคมีนั้น ส่วนมากนั้นจะได้มาจากการเปลี่ยนวัตถุดิบที่มีราคาต่ำ ให้เป็นผลผลิตที่มีราคาสูงกว่าเดิม ดังนั้นการลงทุนและค่าใช้จ่ายในการทำการผลิตที่เกิดขึ้นในการแปรสภาพวัตถุดิบให้มีราคา เมื่อรวมแล้วต้องมีค่าน้อยกว่าการเพิ่มขึ้นของวัตถุดิบที่ถูกเปลี่ยนสภาพไป
1.9 โครงสร้างของอุตสาหกรรมเคมี
โครงสร้างของอุตสาหกรรมเคมีสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆดังนี้
                1.ผู้ทำการผลิต (Operator) คือ กลุ่มบริษัทที่ทำการผลิตสารเคมี เช่น ICI (สหราชอาณาจักร), BASE (เยอรมัน), DOW (สหรัฐ), MITSUI (ญี่ปุ่น) บริษัทเหล่านี้ล้วนแต่เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมเคมีในประเทศไทยก็มีกลุ่มยักษ์ใหญ่เช่นกัน อย่างเช่น Thai-Asahi เป็นต้น แต่โดยทั่วไปแล้วบริษัทที่มีในประเทศของเรามักจะเป็นสาขาย่อยที่อยู่ภายใต้การควบคุมของบริษัทแม่ในต่างประเทศโดยมีคนไทยเป็นผู้ถือหุ้นส่วนร่วม
                2. ผู้รับเหมา    (Contractors) เป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างโรงงานเคมี ซึ่งบริษัทเหล่านี้จะทำการรับเหมางานก่อสร้างโรงงานเคมีทั่วโลก เนื่องจากในการจ้างนั้นเป็นการทำงานในช่วงสั้น จึงคุ้มค่ากว่าที่บริษัทผลิตสารเคมีจะมีทีมงานของตัวเองสำหรับทำการก่อสร้างโรงงานตัวเองโดยเฉพาะ เพราะเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยเปล่าประโยชน์ ซึ่งในประเทศไทยก็จะมีบริษัทผู้รับเหมาจากต่างประเทศเข้ามาทำการรับเหมาแล้วก็จะมีการจ้างบริษัทก่อสร้างในประเทศไทยอีกทอดหนึ่งให้มาช่วยสร้างเรียกว่าSubcontractor บริษัทญี่ปุ่นมักจะชนะการรับเหมาเป็นส่วนมาก เนื่องจากมีการเสนอราคาได้ต่ำและมักจะสร้างเสร็จทันตามกำหนดเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ไม่ใช่เป็นชาติเดียวที่ทำได้ มีบริษัทในยุโรป สหรัฐแม้กระทั่งเกาหลีใต้ก็สามารถทำการรับเหมาทั่วโลกได้เช่นกัน 
                3. ผู้ขายเครื่องอุปกรณ์ (Equipment Venders) กลุ่มนี้เป็นกลุ่มผู้ประกอบการผลิตเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการประกอบอุตสาหกรรมเคมี ส่วนมากแล้วเป็นประเทศในยุโรป อเมริกาเหนือ ในเอเชียก็จะมีประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้นำ บริษัทผู้รับเหมาจะไม่ทำเองแต่จะมีแบบให้สำหรับผู้ผลิตเครื่องมืออุปกรณ์เป็นคนทำ ซึ่งบริษัทเหล่านี้มักจะมีการผลิตอุปกรณ์เจาะจงชนิดจนมีชื่อเสียง เช่น เครื่องสูบ เครื่องกรอง ถังปฏิกรณ์หรือถังต่างๆ
                4. บริษัทที่ปรึกษา (Consulting Companies) ในการออกแบบโรงงานนั้นบริษัทผู้รับเหมาจะทำการออกแบบโรงงานเองในสำนักงานออกแบบ (Design Office) ของบริษัท ในขณะที่บริษัทที่ปรึกษาจะให้คำปรึกษาแก่กลุ่มผู้ประกอบการผลิตสารเคมี เพื่อให้มาช่วยควบคุมดูแลการก่อสร้างโรงงานเคมีให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถูกต้องตามความต้องการของผู้ว่าจ้างบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์เครื่องมือ และผู้รับเหมาจะไม่ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา เว้นแต่ว่าเป็นเรื่องจำเป็นจริงๆ เพราะต่างก็ถือว่าตัวเองเป็นผู้เชี่ยวชาญในอาชีพที่กำลังทำอยู่แล้ว บริษัทผู้ปรึกษามีความสามารถที่จะออกแบบแข่งกับบริษัทผู้รับเหมาได้แต่งานส่วนมากจะเป็นงานที่ให้คำแนะนำปรึกษา
1.9.1  การผลิต
             จากภาวะที่อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราอ่อนค่าลง ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ต้องพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างประเทศต้องประสบกับปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เช่น อุตสาหกรรมสี อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์การเกษตร และเคมีภัณฑ์อื่นๆ เป็นต้น ซึ่งบริษัทที่มีบริษัทแม่ในต่างประเทศจะได้เปรียบในแง่การติดต่อและราคาที่ถูกกว่าผู้ผลิตที่ไม่มีเครือข่ายในต่างประเทศ อย่างไรก็ตามแม้ว่าต้นทุนวัตถุดิบนำเข้าจะสูงขึ้นแต่อุตสาหกรรมบางประเภท เช่น เคมีภัณฑ์การเกษตรกลับไม่สามารถปรับราคาจำหน่ายเพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากกำลังซื้อของภาคการเกษตรที่ลดลง ทำให้ผู้ผลิตต้องแบกรับภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
1.9.2 การตลาด
ในปี 2552 กระทรวงพาณิชย์โดยกรมส่งเสริมการส่งออก ได้จัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริมการส่งออกปี 2552 หลังเกิดวิกฤติการเงินโลก โดยมุ่งเน้นผลักดันส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร พร้อมหนุนส่งออกไปยังตลาดอาเซียน และตลาดใหม่ๆ ที่ได้รับผลกระทบน้อยจากเศรษฐกิจโลก  ซึ่งตามแผนกระตุ้นการส่งออกปีหน้าดังกล่าว ประกอบด้วย การผลักดันส่งออกสินค้า เกษตรและอาหาร ซึ่งจะมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกในตลาดหลักและตลาดใหม่ๆ รวมทั้งมีมาตรการพัฒนาสินค้าเพื่อเพิ่มมูลค่า และการจัดคณะผู้แทนการค้า ตลอดจนการเข้าร่วมงานแสดงสินค้า นอกจากนี้ ยังให้เร่งส่งเสริมการส่งออกเป็นกรณีพิเศษในตลาดที่จะได้รับผลกระทบน้อยจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกประกอบด้วยในกลุ่มอาเซียน 9     ประเทศ และยังรวมถึง ในจีน อินเดีย แถบตะวันออกกลาง ยุโรปตะวันออก และอาฟริกา ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 65.3 ของการส่งออกรวม และตามแผนการนี้ยังสนับสนุนให้มีการลดต้นทุนสินค้า เช่น การสนับสนุนให้ภาคเอกชนลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์และกระตุ้นการลงทุนด้านสาธารณูปโภครวมไปถึงรัฐบาลยังจะมุ่งส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยไปรุกธุรกิจในต่างประเทศมากขึ้นโดยได้ดำเนินการร่วมกับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ซึ่งขณะนี้ มีธุรกิจที่มีศักยภาพ เช่น อาหารเพื่อสุขภาพ เกษตร อุตสาหกรรมเกษตร ก่อสร้าง พลังงาน เป็นต้น โดยตลาดที่คาดว่าจะมีโอกาสขยายการส่งออก เช่น อาเซียน จีน และตะวันออกกลาง

1.10 สรุป
               จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า  อุตสาหกรรมเคมีของประเทศไทยในขณะนี้ นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมากเพราะอุตสาหกรรมทางเคมีนั้นได้ครอบคลุมไปถึงอุตสาหกรรมต่างๆมากมาย โดยแต่ล่ะอุตสาหกรรมจะได้ผลิตผลสำเร็จรูปในรูปแบบต่างๆตามลักษณะของอุตสาหกรรม ซึ่งแต่ละอุตสาหกรรมที่กล่าวมานี้ล้วนแล้วแต่ทำรายได้ให้กับประเทศทั้งสิ้น   อีกทั้งการทำอุตสาหกรรมเคมีจะใช้ขบวนการทางเคมีต่าง ๆ หลายอย่างเพื่อจะเปลี่ยนวัตถุดิบมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ อีกทั้งการค้นคว้าวิจัยเองก็ถือได้ว่าเป็นหัวใจของการทำอุตสาหกรรมเคมีอีกเช่นกัน  โดยนักวิทยาศาสตร์จะเสาะหาขบวนการใหม่ๆหรือที่ดียิ่งขึ้นไปเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ขึ้นมา ถ้ากรรมวิธีไหนดูท่าว่าจะดีวิศวกรเคมีก็จะทำการทดสอบดูเขาจะออกแบบอุปกรณ์และสร้างโรงงานเล็ก ๆ ขึ้นทดลองทำดูก่อน เมื่อได้ผลว่าดีก็จะทำกันต่อไปและสร้างโรงงานขนาดใหญ่ขึ้น ดังนั้นอุตสาหกรรมเคมีจึงถือได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อประเทศเป็นอย่างมาก          แต่อย่างไรก็ตามสำหรับรายงานฉบับนี้เราสนใจอุตสาหกรรมเคมีประเภทหนึ่งที่กำลังเป็นที่น่าสนใจ และทำรายได้ให้กับประเทศไม่น้อยกว่าอุตสาหกรรมเคมีประเภทอื่น ๆ เลยนั้นก็ คือ อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี ดังที่จะได้กล่าวในบทถัดไปนี้

3.อุบัติภัยจากวัตถุเคมีในโรงงานอุตสาหกรรม
อุบัติภัยจากวัตถุเคมีในโรงงานอุตสาหกรรมไม่ใช่สิ่งไกลตัวเราอีกต่อไป เพราะความเสียหายและความสูญเสียที่เกิดขึ้นหลังการเกิดอุบัติภัยไม่ได้จำกัดเพียงแต่โรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ ยังส่งผลระทบต่อความปลอดภัย สุขภาพอนามัยและทรัพย์สินของประชาชนที่อยู่รอบนอกรวมถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมในวงกว้างอีกด้วย ตัวอย่างอุบัติภัยจากวัตถุเคมีเช่น การรั่วไหลของสารเคมีในระหว่างการขนส่ง การรั่วไหลของน้ำมันเชื้อเพลิงในระหว่างขนส่งทางเรือ การระเบิดของพลุดอกไม้ไฟ การเกิดเพลิงไหม้จากสารเคมี เป็นต้น [1] จากสถิตการเกิดอุบัติภัยจากวัตถุเคมีของประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 ของศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [2](ภาพประกอบที่ 1) พบว่าประเภทวัตถุเคมีที่ก่อให้เกิดอุบัติภัยมากที่สุดคือสารเคมี (101 ครั้ง) รองลงมาคือ ก๊าซไฟไว (57 ครั้ง) และเมื่อพิจารณาในแง่ของสาเหตุที่ก่อให้เกิดอุบัติภัยจากวัตถุเคมีแสดงได้ดังภาพประกอบที่ 2 พบว่าสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติภัยจากวัตถุเคมีมากที่สุดคือการเก็บรักษา (78 ครั้ง) รองลงมาคือการขนส่ง (63 ครั้ง) จากสถิติทั้งสองจะเห็นได้ว่าสารเคมีและวิธีการกักเก็บสารเคมีเป็นสาเหตุหลักสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติภัยจากวัตถุเคมี ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและลดการเกิดอุบัติภัยเราจึงควรศึกษาแนวทางในการรับมือและจัดการกับอุบัติภัยจากสารวัตถุเคมี

เรอง 2 ภาพประกอบท 1
ภาพประกอบที่ 1 สถิติการเกิดอุบัติภัยจากวัตถุเคมีของประเทศไทยจากปี พ.ศ. 2551 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 พิจารณาจากประเภทวัตถุเคมี (ที่มาของข้อมูล: ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [2])
 เรอง 2 ภาพประกอบท 2
ภาพประกอบที่ 2 สถิติการเกิดอุบัติภัยจากวัตถุเคมีของประเทศไทยจากปี พ.ศ. 2551 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2555พิจารณาจากประเภทของกิจกรรม (ที่มาของข้อมูล: ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [2])

จากข้อมูลหน่วยข้อมูลสนเทศวัตถุอันตรายและความปลอดภัย ศูนย์วิจัยแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย กรมโรงงานอุตสาหกรรม[3] พบข้อมูลการสำรวจปริมาณการใช้และปริมาณสารเคมีที่กักเก็บในโรงงานอุตสาหกรรม 29 ประเภทของประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2545 - 2546 (รายงานผลเป็นรายจังหวัด)โดยจำแนกตามลักษณะอันตรายของสารเคมีที่มี CAS NUMBER ที่กำหนดโดยองค์การสหประชาชาติ (UN Class) (หน่วยเป็นกิโลกรัมหรือลิตรต่อปี) แสดงดังภาพประกอบที่ 3 จะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีปริมาณการใช้สารเคมีสูงเกือบทุกจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดที่มีนิคมอุตสาหกรรมตั้งอยู่ และจากภาพประกอบดังกล่าวก็สามารถใช้เป็นสัญญาณเตือนให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดหรือบริเวณที่มีปริมาณการใช้และปริมาณการกักเก็บสารเคมีในปริมาณสูงต้องระมัดระวังตัวเองอยู่เสมอ
                Jay A. Brown [4] รายงานว่าวัตถุเคมีหลักที่หากได้รับหรือสัมผัลจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพดังนี้ สารทางชีวภาพ (Biological Agents) สารย้อมสี (Dyes) โลหะ (Metals) ฝุ่นแร่ต่างๆ (Mineral Dusts) สารประกอบไนโตรเจน (Nitrogen Compounds) ยาฆ่าแมลง (Pesticides) สารกัมมันตภาพรังสี (Radiation Hazards) พลาสติกหรือยาง (Plastics&Rubber) สารเคมีที่ใช้เป็นตัวทำละลาย (Solvents) และ แก๊สพิษ (Toxic Gases)
                Mara Caboara[5] รายงานว่าจากเหตุการณ์การเกิดภัยพิบัติจากสารเคมีในโรงงานอุตสาหกรรมในเมือง Seveso และ เมือง Bhopal ทางยุโรป ซึ่งได้สร้างมูลค่าความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินเป็นมูลค่ามหาศาล ทำให้หลายโรงงานในยุโรปเริ่มให้ความสนใจในการหาวิธีรับมือกับภัยพิบัติจากสารเคมี โดยมีการจัดตั้งหน่วยงาน International Chemical Environment (ICE) ขึ้น เพื่อเป็นแหล่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับข่าวสาร การช่วยเหลือตนเองและเครื่องมืออุปกรณ์ให้กับทางการที่ดูแลด้านนี้เพื่อรับมือกับอุบัติภัยจากสารเคมี และในประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการจัดตั้งศูนย์ Chemical Transportation Emergency Centre (CHEMTREC) ในการรับมืออุบัติภัยจากวัตถุเคมีด้วยเช่นกัน โดยศูนย์นี้จะทำหน้าเป็นสายด่วน (Hotline) ติดต่อกับนักดับเพลิง หรือหน่วยงานฉุกเฉิน และบริการข้อมูลและแนวทางรับมือกับวัตถุอันตรายหรือวัตถุเคมี สำหรับโรงงานวัตถุเคมีของประเทศญี่ปุ่น แม็กซิโก แคนาดา จีนและไทย ก็ได้มีการจัดตั้งเครือข่ายฉุกเฉินเหมือนกันโดยนำหลักการของหน่วยงาน ICE และ CHEMTREC มาประยุกต์ใช้

เรอง 2 ภาพประกอบท 3 
ภาพประกอบที่ ข้อมูลการสำรวจปริมาณการใช้และปริมาณสารเคมีที่กักเก็บในโรงงานอุตสาหกรรม 29 ประเภทของประเทศไทยเป็นรายจังหวัดในช่วงปี พ.ศ. 2545 – 2546 (ที่มาของข้อมูล: หน่วยข้อสนเทศวัตถุอันตรายและความปลอดภัย ศูนย์วิจัยแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย กรมโรงงานอุตสาหกรรม[3])
      นอกจากนี้ยังมีหลักทั่วไปเกี่ยวกับความปลอดภัยจากอุบัติภัยจากวัตถุเคมีทั่วไปที่ทั่วโลกนิยมใช้ดังนี้ [6]
  1. 1)แต่ละหน่วยงาน องค์กรควรมีการจัดตั้งและสนับสนุนแผนรักษาความปลอดภัยที่สะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือของนโยบายความปลอดภัย
  2. 2)ในแผนนโยบายความปลอดภัยควรมีข้อตกลงความร่วมมือที่ชัดเจน เข้าใจง่ายในการรักษาความปลอดภัยในองค์กรและคนงานสามารถเข้าถึงแผนดำเนินงาน
  3. 3)แผนความปลอดภัยควรเน้นความพร้อมและความว่องไวในการรับมือกับอุบัติภัย
  4. 4)ลูกจ้าง คนงานควรตระหนักถึงกฎและข้อบังคับที่ส่งผลต่อความปลอดภัย ควรมีทักษะและความรู้ในการจัดการและรับมือกับอุบัติภัย
  5. 5)เจ้าของโรงงานและลูกจ้าง คนงาน ไม่ควรละเลยที่จะซ่อมบำรุงโรงงานหรือเครื่องจักรอยู่เสมอแม้ว่าในช่วงแรกของการติดตั้งจะไม่มีเหตุอุบัติภัยเกิดขึ้นก็ตาม
  6. 6)แผนรักษาความปลอดภัยขององค์กรควรเปิดกว้างรับฟังเสียงจากสาธารณชนและพร้อมนำมาปรับแก้ไขแผนรักษาความปลอดภัยได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น